
หากจะพูดถึงรถยนต์ลูกผสมที่ผลิตจากนวัตกรรมเด่นของหลายสัญชาติจนกลายเป็นรถยนต์ที่มีความทันสมัยทั้งทางด้านยานยนต์ รูปทรงและการการันตีได้ถึงความปลอดภัยในระดับต้นๆ ของโลก เชื่อได้ว่าคงไม่มีใครที่จะไม่คิดถึงชื่อของรถยนต์ Chryler อย่างแน่นอน เพราะด้วยความพิเศษของรถยนต์ Chrysler ที่เป็นรถยนต์สัญชาติอเมริกัน ที่ควบคุมดูแลการผลิตตามมาตรฐานของวิศวกรชาวอิตาเลี่ยน จดทะเบียนสิทธิบัตรที่เนเธอร์แลนด์ และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ แถมยังเป็นรถยนต์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน จึงทำให้ชื่อของ Chrysler กลายเป็นรถยนต์อันดับต้น ๆ ที่ผู้คนนิยมกันไปทั่วโลก

ถือกำเนิด Chrysler
Chrysler ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ในปี 1925 โดย Mr.Walter Crysler แต่กว่าจะกลายมาเป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมกันทั่วไปและรู้จักกันไปทั่วโลกอย่างในปัจจุบัน ก็ถือว่า Chrysler เป็นอีกหนึ่งแบรนด์รถยนต์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะถึงแม้ว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งChryslerได้ทำการขยายตลาดออกไปยังยุโรปและขายสิทธิการค้าให้กับ PSA Peugeot Citroën เพื่อนำเงินรายได้มาใช้ในการจัดการปัญหาเรื่องหนี้สิน จนกระทั่งต่อมาในปี 2009 ทางบริษัทก็ยังโดนพิพากษาว่าติดหนี้กว่า 11 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่ก็สามารถใช้หนี้ทั้งหมดได้ในระยะเวลาแค่ 3 ปี หลังจากการบริหารงานของกลุ่ม Fiat นั่นเอง

การปรับตัวของChrysler ในยุคเทคโนโลยี
และถึงแม้ว่า Chrysler จะเป็นรถยนต์ที่ไม่ได้รับความนิยมากนักในประเทศไทย แต่หากพูดถึงชื่อนี้กับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ถือว่ามีน้อยคนมากที่จะไม่รู้จัก เพราะ Charsler ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์รถยนต์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานของประเทศสหรัฐอเมริกาไม่แพ้แบรนด์อื่นเลยทีเดียว
และด้วยเทคโลยีในการผลิตรถยนต์ที่มีความทันสมัยมากขึ้น และกระแสของผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกที่ล้วนหันมาใส่ความสนใจในเรื่องของการประหยัดพลังงาน และประหยัดน้ำมัน Chrysler เองก็ได้มีการเล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านนี้จนได้เปิดตลาดรถยนต์ในรูปแบบอีโคคาร์ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์แบบประหยัดน้ำมัน

ก้าวต่อไปของ Chrysler
สำหรับก้าวต่อไปของ Chrysler นั่นคือการผลิตรถยนต์ให้สอดคล้องกับแนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติและการดูแลสิ่งแวดล้อมตามแนวทางวิถีอีโคควบกับเทคโนโลยี ด้วยการเตรียมผลิตรถมินิแวนแบบพลังไฟฟ้า “พอร์ทัล คอนเซปต์” ที่มีการออกแบบดีเทลของรถให้ครอบคลุมและสอดรับกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ มีช่องดีไวซ์ภายในรถรองรับการชาร์จไฟเร่งด่วนในเวลาเพียง 20 นาที ซึ่งวิ่งได้ระยะทางกว่า 240 กม.เพื่อสอดรับการใช้ชีวิตบนโลกดิจิตอล ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าด้วยการใช้แบตเตอรี่ขนาด 100 กิโลวัตต์ที่สามารถใต้พื้นรถ และขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นอกจากนี้แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในการขับรถนั่นก็คือ ประกันภัยรถยนต์นั่นเอง สำหรับใครที่กำลังจะมีแพลนซื้อรถยนต์แล้วยังไม่มีประกันรถยนต์ก็สามารถเข้ามาเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้ ที่นี่ หรือโทรมาสอบถามได้ที่ 02 710 3100 หรือแอด LINE: @masii (มี @ ด้วยนะ) เข้ามากันได้เลย
ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการ ได้กล่าวถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicles) ของจีน ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บนท้องถนนของประเทศไทยมีรถยนต์แบรนด์จีนวิ่งอยู่บนท้องถนนของไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งBYD, MG, Great Wall Motor, NETA และยังมีรถยนต์จีนอีกหลายต่อหลายยี่ห้อที่กำลังจะเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย เช่น ฉางอาน, GAC Aion โดยเกือบทั้งหมดมีจุดเด่นในเรื่องของ“เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า”
นี่ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่บนท้องถนนของเมืองไทย ที่รถญี่ปุ่นเคยเป็นเจ้าถนน รถเก๋งต้องโตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า นิสสัน มิตซูบิชิ, รถแท็กซี่เกือบทุกคันยี่ห้อโตโยต้า, รถปิกอัพต้องอีซูซุ, รถบรรทุกต้องฮีโน่ สินค้า Made in China ที่เคยถูกมองว่า ด้อยคุณภาพ ผลิตแต่ของลอกเลียนแบบ จนถูกเปรียบเปรยว่าเป็น“ของก๊อปเซินเจิ้น”แต่ทุกวันนี้ กลับกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก และที่สำคัญคือ รถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีของจีนเอง!
จีนปลุกชีพ MG ถล่มตลาดอังกฤษ ชูจุดเด่นรถไฟฟ้า
วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566 สำนักข่าว BBC ของอังกฤษรายงานว่า รถยนต์ที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษเมื่อทศวรรษ 1920 หรือเมื่อ 100 ปีที่แล้ว กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งอย่างแข็งแกร่ง ภายใต้การบริหารงานของเอสเอไอซี มอเตอร์ (SAIC Motor Corporation Limited)ยักษ์ใหญ่ในแวดวงยานยนต์จีน ซึ่งบริษัทลูกในเครือ SAIC ซื้อแบรนด์ MG ต่อจากอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2549 (ค.ศ.2006)
เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่ เพราะตั้งแต่เมื่อ 17 ปีก่อนที่ MG ล้มละลายไป ทำให้บริษัทจีนเข้ามาซื้อกิจการ ยอดขายและผลประกอบการของ MG ในอังกฤษไม่เคยพุ่งแบบก้าวกระโดดอย่างนี้มาก่อน โดยรายงานจาก MG Motors สหราชอาณาจักรระบุว่า
“ตอนนี้บริษัทมีสถานะที่แข็งแกร่งมาก จากความได้เปรียบในการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า โดยในปี 2565 ยอดขายรถ MG ในสหราชอาณาจักรมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านปอนด์ (หรือ 44,000 ล้านบาท)
“ด้วยเหตุนี้ทำให้ ตัวเลขกำไรก่อนหักภาษีของบริษัทในปี 2565 พุ่งขึ้นไปเป็น 54.2 ล้านปอนด์ หรือราว 2,400 ล้านบาท เทียบกับ กำไรในปีก่อนหน้า คือ ปี 2564 ที่บริษัทมีกำไรก่อนหักภาษีเพียง 4.3 ล้านปอนด์ (ราว 190 ล้านบาท)”
ทั้งนี้ ยอดขายรถ MG ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว มีที่มาจากความต้องการรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (EV)และรถยนต์ไฮบริดของของผู้บริโภคชาวอังกฤษที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งจีนได้เปรียบ และกำลังรุกกลับเข้ามาทำตลาดในอังกฤษอย่างหนักหน่วง
บีบีซีรายงานด้วยว่า บริษัทสัญชาติอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าของ MG รายสุดท้ายคือ MG Rover ก่อนที่บริษัทจะล้มละลายไปในปี 2548 (ค.ศ.2005) ก่อนที่ กลุ่มหนานจิง ออโต้ ของจีนจะเข้ามาเทคโอเวอร์แบรนด์ MG ไป และในเวลาต่อมา SAIC กับ หนานจิง ออโต้ ก็ควบรวมบริษัทกันในปี 2550 (ค.ศ.2007)
เมื่อบริษัทจีนเข้ามาเทคโอเวอร์แบรนด์ MG แบบเบ็ดเสร็จแล้ว ก็มีการโยกย้ายฐานการผลิตที่เคยตั้งอยู่บนเกาะอังกฤษนานเกือบศตวรรษออกไปด้วย
โดยใน ปี 2559 (ค.ศ.2016) SAIC ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของจีนได้ย้ายการผลิตจากโรงงาน MG ที่อังกฤษทั้งหมด ไปที่มหานครเซี่ยงไฮ้แทน
ปัจจุบันรถยนต์ MG ที่กลับมาอีกครั้งในประเทศอังกฤษ ประกอบไปด้วย รถรุ่น MG ZS MG 5MG HS PHEV (รถปลั๊กอินไฮบริด)
นอกจากนี้ในปีหน้า MG ยังเตรียม เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ๆ ในอังกฤษอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นMG3, MG4, MG4 EV รวมไปถึงรถสปอร์ตไฟฟ้า 2 ประตูรุ่นMG Cybersterด้วยคันหลังสุดนี้มีคิวจะเปิดตัวในอังกฤษในช่วงฤดูร้อนของปีหน้า คือ ปี 2567
นายเอียน พลัมเมอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายของเว็บไซต์ขายรถยนต์ Auto Trader บอกว่า“รถ MG กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในอังกฤษ เพราะพวกเขามีรถพร้อมจำหน่าย อีกทั้งยังมีราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ต้องจับตามองอย่างมากเลย เพราะ รถไฟฟ้า MG ทำยอดขายแซงรถไฟฟ้าอย่าง Polestar (รถ EV สัญชาติสวีเดน) และ Tesla ไปแบบเงียบๆ เลย”
ทั้งนี้ รถ MG ZS EV ถือเป็น หนึ่งในรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกที่สุดรุ่นหนึ่งที่วางขายในตลาอังกฤษ ด้วย ราคาเริ่มต้นที่ราว 30,000 ปอนด์ (ราว 1,320,000 บาท) จึงทำให้รถยนต์รุ่นนี้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของ รถยนต์รุ่นที่ขายดีที่สุดบนเกาะอังกฤษในเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา จากรายงานของ สมาคมผู้ผลิตและผู้ค้ารถยนต์ (SMMT) สหราชอาณาจักร
โดยในประเด็นนี้ นายไมค์ ฮาเวส ผู้บริหารระดับสูงของ SMMT เปิดเผยด้วยว่า“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นแบรนด์รถยนต์จีน และรถยนต์ที่ผลิตในจีนจากแบรนด์อื่นๆ เข้าสู่ตลาดรถยนต์ใหม่ของสหราชอาณาจักรมากขึ้น และความสำเร็จอย่างมาก โดยรถยนต์จากจีนเหล่านี้ มักจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความต้องการในตลาดสูง และมีการแข่งขันที่สูงมากด้วย”
ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ จีนกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกรถยนต์มากกว่าล้านคันทั่วโลก แซงหน้าประเทศญี่ปุ่นในฐานะผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกไปที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากความต้องการ “รถยนต์ไฟฟ้า” ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกแล้ว รถยนต์ส่งออกจากจีนยังได้รับแรงหนุนจากตลาดรัสเซีย ซึ่งถูกประเทศตะวันตกหลายประเทศคว่ำบาตรภายหลังสงครามในยูเครน
เดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา นายริชิ ซูนัก นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยืนยันกำหนดการในห้ามการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบนซิน และดีเซลใหม่ ภายในปี 2578 (ค.ศ.2035) โดย คำประกาศดังกล่าวได้รับเสียงตอบรับ และคัดค้านจากผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งหลายรายเริ่มลงทุนอย่างมากในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
แม้ว่าการสั่งห้ามจำหน่ายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยฟอสซิลในอังกฤษ จะถูกชะลอออกไปจากเดิมอีก 5 ปี(จากปี 2573 เป็น 2578)แต่บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ต่าง ๆ ก็ยังคงถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกับระเบียบใหม่ที่เข้มงวดที่เริ่มต้นในปี 2566 นี้ คือ อย่างน้อย 1 ใน 5 หรือ 20% ของจำนวนรถยนต์ที่จำหน่ายทั้งหมดของบริษัทรถต่าง ๆ จะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
EU จ่อสอบการนำเข้า ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ จากจีน
ก่อนหน้านี้ เมื่อกลางเดือนกันยายน 2566 สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง รายงานโดยอ้างอิงถ้อยแถลงของ นางอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปว่า ทางสหภาพยุโรป เตรียมเริ่มสอบสวนการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเพราะกังวลว่ารัฐบาลปักกิ่งอาจพยายามลดราคาสินค้าดังกล่าวเพื่อจะได้ส่งออกไปยุโรปจำนวนมาก หวังครอบงำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคดังกล่าว
โดยการสอบสวนครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งใน “คดีการค้าที่ใหญ่ที่สุด” ท่ามกลางความพยายามของสหภาพยุโรปในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับ “อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)” ในช่วงต้นปี 2553 ที่ผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ตัดราคาโดยการนำเข้าอุปกรณ์ราคาถูกจากจีนมาขายต่อ จนทำให้เข้าสู่ภาวะล้มละลาย
“บ่อยครั้งที่บริษัทของเราถูกแยกออกจากตลาดต่างประเทศหรือตกเป็นเหยื่อของพฤติกรรมนักล่า พวกเขามักจะถูกตัดราคาโดยคู่แข่งที่ได้ประโยชน์จากเงินอุดหนุนจากรัฐจำนวนมหาศาล”นางอัวร์ซูลาอ้าง ในการปราศรัยประจำปีต่อฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป
จะเห็นได้ชัดว่า ณ เวลานี้“บริษัทรถยนต์จีน” ที่ชูเทคโนโลยีใหม่ เรื่องรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหัวหอก ไม่เพียงแต่ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของตัวเองได้เฉพาะประเทศจีน หรือ ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย หรือประเทศเพื่อนบ้านอีกต่อไป แต่ได้รุกคืบไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่ร่ำรวยต่าง ๆ โดยที่เห็นได้ชัดก็คือ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สเปน ฯลฯ รวมถึงประเทศในทวีปอเมริกาเหนือด้วย
โดยการรุกคืบดังกล่าวได้สร้างแรงสั่นสะเทือน และความหวาดหวั่นให้กับบรรดาประเทศที่เคยเป็นเจ้าแห่งการผลิตรถยนต์ รวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่ภูมิอกภูมิใจว่าตัวเองเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ของโลกด้วย