• Movie 187
  • Movie 66
  • Sample Page
  • รีวิวหนังดี 294 – P1
  • รีวิวหนังดี 294 – P2
  • รีวิวหนังดี 294 – P3
reviewfilm.dailync91news.live
No Result
View All Result
No Result
View All Result
reviewfilm.dailync91news.live
No Result
View All Result

หนังดี 454

admin79 by admin79
April 10, 2025
in Uncategorized
0
หนังดี 454

เบาะนั่งด้านหลังหุ้มด้วยวัสดุหนังสีดำ แซมด้วย DYNAMICA Microfiber เดินตะเข็บด้ายสีแดง เช่นเดียวกับเบาะคู่หน้า สามารถแยกพับได้ในอัตราส่วน 40 : 20 : 40 โดยกดปุ่มปลดล็อกที่บริเวณบ่าด้านบนของพนักพิงหลังทั้ง 2 ฝั่ง ส่วนพนักพิงศีรษะมีมาให้ครบทุกตำแหน่ง พร้อมเข็มขัดนิรภัยแบบ ELR 3 จุด แต่ที่นั่งตรงกลางไม่มีพนักวางแขนพร้อมที่วางแก้วน้ำมาให้ ครั้นจะพับพนักพิงตรงกลางลงมาใช้งานก็ดันอยู่ในตำแหน่งเตี้ยเกินกว่าที่จะวางแขนได้สบายๆ

พนักพิงหลังมีมุมเอนกำลังดี บริเวณที่รองรับแผ่นหลังมีการปาดเว้าเป็นแอ่งลงไปเล็กน้อย แม้จะไม่ได้รู้สึกเหมือนโดนโอบกระชับลำตัวมากสักเท่าไหร่ แต่กระนั้นก็ไม่รู้สึกเหมือนนั่งอยู่แผ่นไม่กระดานอันแบบราบเฉกเช่นที่เบาะหลังของ BMW X1 เป็น

พนักพิงศีรษะใช้ฟองน้ำค่อนข้างนุ่ม ขนาดไม่ใหญ่โตนัก ทำหน้าที่รองรับศีรษะและต้นคอได้ดี ทั้ง 3 ตำแหน่ง

เบาะรองนั่ง ใช้ฟองน้ำสไตล์เดียวกันกับเบาะนั่งคู่หน้า คือมีความแน่น นั่งแล้วไม่ยวบ แต่มีระยะยุบตัวช่วงแรกให้พอสัมผัสได้ถึงความนุ่ม เบาะรองนั่งมีความยาวปานกลางค่อนไปทางยาว องศามุมเงยกำลังเหมาะสม ตำแหน่งตืดตั้งอยู่สูงจากพื้นห้องโดยสาร ทำให้ไม่ต้องนั่งชันเข่า

พื้นที่เหนือศีรษะ สำหรับคนตัวสูงราวๆ 173 ซม. อย่างผม เหลือพื้นที่ 5 นิ้วในแนวนอน ซึ่งถือว่าเยอะใช้ได้เลยทีเดียว แต่สำหรับคนตัวสูงเกิน 180 ซม. หัวอาจเฉี่ยวชนเพดานอยู่หน่อยๆ หากนั่งแบบไถลก้นไปข้างหน้าเล็กน้อย ก็จะไม่มีปัญหาอะไร

พื้นที่วางขา หากปรับเบาะนั่งด้านหน้าไว้ที่ตำแหน่งผมขับเอง จะมีพื้นที่วางขาเหลือๆ กันเลยทีเดียว ระยะห่างจากหัวเข่าจนถึงด้านหลังสุดของพนักพิงหลังเบาะหน้า สามารถสอดมือถือ iPhone 11 Promax ซึ่งมีความยาวประมาณ 16 เซ็นติเมตร ได้สบายๆ เลย นอกจากนี้ ช่องว่างใต้เบาะนั่งคู่หน้า ยังมีขนาดกว้างสะใจ ผู้โดยสารด้านหลังวางเท้าได้ แถมยังขยับไปมาได้สบายๆ

ฝาท้ายของ GLA นั้น ค้ำยันด้วยช็อกอัพไฮโดรลิค 2 ฝั่ง และมีแผงบังสัมภาระ แขวนด้วยเชือก เกี่ยวกับตะขอทั้ง 2 ฝั่ง หากเป็นรุ่น GLA 200 ช่วงแรก ยังไม่มี ระบบเปิด-ปิดฝาท้าย ด้วยระบบไฟฟ้า พร้อมฟังก์ชั่น Hand-free ซึ่งเป็นระบบที่จะพบได้เฉพาะในรุ่น AMG GLA 35 เท่านั้น ทว่า ตั้งแต่ วันที่ 3 ธันวาคม 2021 เป็นต้นมา จะเพิ่มระบบดังกล่าวมาให้ ใน GLA 200 ด้วยแล้ว (ในภาพ เป็นของรุ่น AMG GLA 35)

ห้องเก็บสัมภาระด้านท้ายมีความจุ 435 ลิตร และ 1,430 ลิตร เมื่อพับเบาะ (มาตรฐาน VDA เยอรมนี) แต่เชื่อว่าหลายคนยังคงนึกภาพไม่ออกว่า ความจุ 435 ลิตร นั้น พอที่จะบรรทุกอะไรได้บ้าง งานนี้ผมเลยลองเอาเครื่องมือวัดมาวัดกันให้ดูกันไปเลย ผลปรากฎว่า…

ระยะจากขอบบานฝาท้ายถึงพนักพิงเบาะนั่งแถวหลัง 803 มิลลิเมตร ระยะจากผนักด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง 1,050 มิลลิเมตร แต่หากต้องการบรรทุกสัมภาะระที่มีขนาดใหญ่โตว่านี้ จำเป็นต้องพับพนักพิงเบาะแถวหลังลง ซึ่งก็ไม่ได้ราบไปกับพื้นเท่าที่ควร แต่ก็พอจะมีระยะให้วางของที่มีความยาว ระดับ 1,580 – 1,590 มิลลิเมตร ได้ โดยไม่ไปรบกวนการนั่งของผู้โดยสารด้านหน้า

แผ่นรองพื้นห้องเก็บสัมภาระสามารถปรับให้เตี้ยลง ช่วยเพิ่มระยะจากพื้นถึงเพดานหลังคาได้อีกราวๆ 70 มิลลิเมตร เมื่อเปิดแผ่นรองพื้นที่ห่อหุ้มด้วยพรมสากๆ ขึ้น จะพบกับอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานมา อันได้แก่ ชุดปะยางฉุกเฉิน TIREFIT แม่แรงยกรถ ตะขอเกี่ยวลาก นอกจากนี้ ยังมีถาดสำหรับวางของที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่พอจะวางพวกของสด ของคาว หรือถุงทุเรียนที่แกะเรียบร้อยแล้ว เพื่อกันไม่ให้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์เล็ดลอดออกไปทำอันตรายต่อประสาทรับกลิ่นของคุณหรือคนอื่นๆ

แผงหน้าปัดยังคงเป็นความพยายามในการผสมผสานความเรียบง่ายเข้ากับความอลังการดาวล้านดวงของจอแสดงข้อมูล และช่องแอร์แบบ Jet Turbine ตามสไตล์ Mercedes-Benz ยุคร่วมสมัย เช่นเดียวพี่ๆ น้องๆ ของมัน หน้าจอแสดงผลตรงกลาง 10.25 นิ้ว และหน้าจอชุดมาตรวัด 10.25 นิ้ว ที่ถูกจับมัดรวมกัน ยังคงโผล่มาให้เห็น การเอาจอไปวางอยู่บนแผงหน้าปัดดูเหมือนง่าย แต่หากสิ่งที่อยู่รอบข้างมันไม่ไปด้วยกัน ของทันสมัยอาจกลายเป็นส่วนเกินที่หูรกหูตาเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน แต่กับ Mercedes-Benz หลายรุ่น รวมถึง GLA  มันไม่ได้ดูรกหูรกตาแบบนั้น

ดูเหมือนว่า GLA รุ่นปัจจุบัน จะเป็นรุ่นสุดท้ายที่ได้ใช้จอยาว รุ่นถัดจากนี้คาดว่าจะเปลี่ยนไปใช้หน้าจอกลางทรง 4 เหลี่ยมผืนผ้า แบบเดียวกับ S-Class (W223) และ C-Class (W206) ไม่นับรถไฟฟ้าตระกูล EQ รุ่นเรือธง ที่จะมาพร้อมหน้าจอ MBUX Hyperscreen 64 นิ้ว ซึ่งล้ำอนาคตขึ้นไปหลายขั้น

การจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่างจะเป็นหน้าจอ แผงสวิตช์ควบคุมเครื่องปรับอากาศ เป็นสิ่งที่คุ้นตากันดีในบรรดารถตระกูล A-Class และ B-Class แต่ถ้าลองสังเกตุดูดีๆ จะพบว่าแต่ละรุ่น มีจุดแต่งต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่ ไฟ Ambient Light 64 เฉดสี อันเป็นจุดเด่นสำคัญที่สร้างความวิลิศมาหราให้แก่ภายในห้องโดยสาร ยังคงมีมาให้ครบถ้วน แต่แนวเส้นและการจัดวางจะมีความต่างออกไปจาก A-Class อยู่ประมาณหนึ่ง ตามลักษณะการออกแบบแผงแดชบอร์ดและแผงประตู

ความแจ่มจันทร์ของไฟ Ambient Light บวกกับความ Premium ในระดับเริ่มต้นของคุณภาพวัสดุบุนุ่มที่ประเคนมาให้ตามจุดต่างๆ อาจทำให้คุณรู้สึกดี จนกระทั่งหันไปมองบนเพดานหลังคาแล้วพบว่า หลังคากระจก Panoramic Glassroof ที่เคยเป็นของเล่นใน GLA 250 รุ่นที่แล้ว มันหายไป เหลือเพียงแผงสวิตช์ควบคุมไฟส่องสว่างภายในห้องโดยสาร และไฟอ่านแผนที่ (ซ่อนอยู่ใต้กระจกมองหลัง) แบบ LED สีเหลืองอำพัน พร้อมช่องเก็บแว่นตา รวมทั้งแผงบังแดด พร้อมกระจกแต่งหน้าแบบมีฝาปิด และไฟส่องแต่งหน้าในตัวทั้ง 2 ฝั่ง ตลอดจนสวิตช์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS ทั้งหมดนี้ มีมาให้ครบทั้ง 2 รุ่น

จากฝั่งขวา ไปฝั่งซ้าย

แผงควบคุมบริเวณบานประตูฝั่งคนขับ ประกอบด้วยสวิตช์ควบคุมการเลื่อนขึ้น – ลงของกระจกหน้าต่าง แบบ One-Touch ทั้ง 4 บาน พร้อมระบบป้องกันการหนีบ (Jam Protection) สวิตช์ปรับและพับกระจกมองข้าง สามารถตั้งโปรแกรมให้กระจกมองข้างพับอัตโนมัติเมื่อล็อกรถ ด้านล้างของแผงควบคุม ในรุ่น AMG GLA 35 ซึ่งมาพร้อมกับฝาท้ายไฟฟ้า จะมีสวิตช์เปิด – ปิดฝาท้ายจากภายในรถมาให้

มือจับดึงเปิดประตูจากด้านในชุบด้วยสีเงิน มีสวิตช์ Central Lock ซ่อนอยู่ภายใน ถัดขึ้นไปด้านบน เป็นสวิตช์ปรับเบาะนั่งฝั่งคนขับ พร้อมระบบหน่วยความจำตำแหน่งเบาะ Memory Seat 3 ตำแหน่ง ทำงามร่วมกับกระจกมองข้าง แต่ไม่ผูกเข้ากับคอพวงมาลัย ส่วนสวิตช์ปรับดันหลัง Lumbar Support 4 ทิศทาง แยกออกไปติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างฐานรองเบาะ

ใต้ช่องแอร์ฝั่งขวาคนขับ เป็นสวิตช์เบรกมือไฟฟ้า EPB (Electronic Parking Brake) พร้อมฟังก์ชัน Auto Brake Hold และแผงสวิตช์ควบคุมระบบไฟส่องสว่าง ประกอบด้วย ไฟหน้าแบบเปิด – ปิดอัตโนมัติ ไฟตัดหมอกหลัง และสวิตช์ปรับความสว่างของหน้าจอชุดมาตรวัด

พวงมาลัยของทั้ง GLA 200 และ AMG GLA 35 เป็นแบบ 3 ก้าน ท้ายตัด ปรับระดับได้ 4 ทิศทาง ทั้งสูง – ต่ำ และระยะใกล้ –  ไกลจากลำตัวผู้ขับขี่ (Telescopic) วงพวงมาลัยหุ้มด้วยหนัง Nappa เดินตะเข็บด้ายแดง ประดับด้วย trim สีเงิน มาพร้อมสวิตช์ Multi-function

สวิตช์บนก้านพวงมาลัยฝั่งขวา สำหรับควบคุมหน้าจอชุดมาตรวัด และระบบควบความเร็วอัตโนมัติ Cruise Control แบบปกติ (Cruise Control จะทำงานเฉพาะในโหมด ESP ON ปกติเท่านั้น) ส่วนก้านพวงมาลัยฝั่งซ้าย จะประกอบด้วยสวิตช์ควบคุมหน้าจอกลาง Center Screen สวิตช์รับสาย – วางสายโทรศัพท์ สวิตช์ปรับระดับและ Mute เสียง รวมถึงสวิตช์สังการด้วยเสียง

น่าเสียดายที่ AMG GLA 35 เวอร์ชันไทย ยังไม่ได้พวงมาลัยแบบ AMG Performance Steering Wheel ซึ่งจะหุ้มด้วยหนัง Nappa และ DINAMICA Microfibre มาให้ หน้าจอแสดงโหมดการขับขี่ 2 จอ พร้อมสวิตช์ปรับโหมดการขับขี่ AMG Steering Wheel Buttons และสัญลักษณ์ AMG แบบที่ติดตั้งมาใน AMG รุ่นอื่นๆ รวมถึง AMG CLA 35 รุ่น CBU

ก้านควบคุมที่คอพวงมาลัยฝั่งซ้าย สำหรับควบคุมการทำงานของไฟเลี้ยว ควบคุมก้านปัดน้ำฝนที่กระจกบังลมหน้า พร้อมระบบฉีดน้ำล้างทำความสะอาด ส่วนก้านควบคุมที่คอพวงมาลัยฝั่งขวา เป็นคันเกียร์ไฟฟ้า Shift-by-Wire ที่ Mercedes-Benz ติดตั้งมาในรถทุกรุ่น เริ่มตั้งแต่ E-Class W212 ยกเว้นบางรุ่น เช่น AMG A45 รุ่นที่แล้ว หรือ AMG GT ที่ยังแปะอยู่บนคอนโซลกลาง

หลังก้านพวงมาลัย มีแป้นเปลี่ยนเกียร์ Gearshift Paddles ติดตั้งมาให้ โดยก้านเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น (+) จะอยู่ฝั่งขวา ส่วนก้านลดเกียร์ลง (-) จะอยู่ฝั่งซ้าย เมื่ออยู่ในโหมด M ระบบจะไม่ตัดการทำงานเข้าเกียร์ D ให้ จนกว่าจะกดก้าน Paddle Shift ฝั่งใดฝั่งหนึ่งค้างไว้

ปุ่ม Push Start / Stop Engine และปุ่มเปิด – ปิด ระบบ ECO Start/Stop จะอยู่ฝั่งซ้ายของคอพวงมาลัย ใกล้กับช่องแอร์ตรงกลาง

การจัดวางสวิตช์บนแผงประตูฝั่งคนขับ ไม่ว่าจะเป็นด้านบนสุดที่เป็นหน่วยความจำเบาะนั่ง Memory Seat 3 ตำแหน่ง หรือด้านสุดของพนักวางแขน ที่ประกอบด้วยสวิตช์ปรับมุมมอ สั่งพับ – กางกระจกมองข้าง รวมถึงสวิตช์ควบคุมการเลื่อนขึ้น – ลงของกระจกหน้าต่างทั้ง 4 บาน แบบ One-touch พร้อมระบบป้องกันการหนีบ (Jam Protection) ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ง่ายต่อการใช้งาน ทว่ามือจับดึงเปิดประตูจากด้านใน ซึ่งติดตั้งสวิตช์ Central Lock เอาไว้ด้วยนั้น ค่อนข้างเตี้ยและเยื้องมาทางด้านหลังมากไปเสียหน่อย

ชุดมาตรวัดของ GLA 200 เป็นหน้าจอ All-digital Instrument Display ขนาด 10.25 นิ้ว (26.03 เซนติเมตร) แบบเดียวกันกับ A 200 Sedan สามารถเลือกปรับ Theme การแสดงผลได้ 4 รูปแบบ ทั้ง Classic, Sport, Progressive และแบบเรียบง่าย ซึ่งแต่ละ Theme จะมีโทนสีแตกต่างกันออกไป ส่วนการจัดวาง Layout หน้าจอ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ วงกลมฝั่งขวา วงกลมฝั่งซ้าย และหน้าจอส่วนกลาง โดยแต่ละส่วนก็สามารถเลือกปรับค่าต่างๆ ได้หลากหลาย ผ่านสวิตช์ Touch pad บนก้านพวงมาลัยฝั่งขวา

เริ่มจากวงกลมฝั่งขวา ด้านล่างสุดจะเป็นมาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น สามารถปรับเปลี่ยนการแสดงผลได้ ไม่ว่าจะเป็น มาตรวัดรอบเครื่องยนต์แบบเข็ม อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ทั้งแบบ Real-time และค่าเฉลี่ย หน้าจอแสดงผล ECO ระยะห่างจากรถคันข้างหน้า แผนที่ และหน้าจอ G-Force Meter

วงกลมฝั่งซ้าย ด้านล่างมีค่ามาตรฐานเป็น มาตรวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถเลือกให้แสดงได้ทั้ง มาตรวัดความเร็วแบบเข็ม นาฬิกาแบบอนาล็อกพร้อมวันที่ Trip Computer ข้อมูลการเดินทาง (ระยะเวลาและระยะทาง) ตลอดจนหน้าจอแสดงผลระบบความบันเทิง

ส่วนหน้าจอส่วนกลาง นอกจากจะมีตัวเลขอุณหภูมิภายนอก นาฬิกาติจิตอล และตำแหน่งเกียร์ แสดงเป็นค่ามาตรฐานแล้ว ยังสามารถเลือกปรับให้แสดงได้อีกหลายค่าเช่นกัน อาทิ Trip/ ODO Meter มาตรวัดความเร็วแบบตัวเลข อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง หน้าจอ ECO และข้อมูลการเดินทาง

อย่างไรก็ตาม ชุดมาตรวัดของ AMG GLA 35 จะเพิ่มความแตกต่างอีกประการหนึ่งเข้ามา นั่นคือ มี Theme การแสดงผลแบบ Super Sport เพิ่มเข้ามาให้ โดยยังคงกดเลือกให้ หน้าจอทุก Pattern สามารถแสดงข้อมูล ทั้ง แรงม้า แรงบิด อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง อุณหภูมิน้ำมันเกียร์ ฯลฯ ให้เลือกเล่นได้ เหมือนกันทั้งหมด แม้ว่าหน้าจอจะดูล้ำขึ้นไปอีกขั้น แต่ถ้าให้พูดกันตามตรง ความง่ายต่อการอ่านค่า ยังสู้หน้าจอในโหมดปกติไม่ได้

จากฝั่งซ้าย เข้ามาฝั่งขวา

กล่องเก็บของใต้แผงหน้าปัดด้านหน้า ฝั่งผู้โดยสาร (Glove Compartment) มาพร้อมฝาปิดแบบหน่วงเปิด พร้อมไฟส่องสว่าง เมื่อเปิดออกมา จะพบกับช่องเก็บของที่ระยะกว้างราวๆ 1 ฟุต ส่วนความลึกนั้นไม่มากสักเท่าไหร่ มีการเพิ่มถาดยื่นออกมาสำหรับวางของชิ้นเล็ก ให้ง่ายต่อการมองเห็น

เครื่องปรับอากาศของทั้ง 2 รุ่น เป็นแบบอัตโนมัติ THERMATIC 1 โซน ปรับอุณหภูมิได้ต่ำสุดราวๆ 16 องศาเซลเซียส และปรับขึ้นไปสูงสุดได้ 28 องศาเซลเซียส หากเลื่อนสวิตช์ขึ้นไปอีกครั้งที่ตำแหน่ง HIGH จะเป็นการเปิด Heater

การไม่มีช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลังมาให้ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องผิดบาปสำหรับการเป็นรถ Crossover/SUV ในยุคนี้ แต่ช่องแอร์กลาง 3 ช่อง ที่วางเรียงกันเป็นด่านเจดีย์สามองค์นั้น สามารถกระจายความเย็นไปถึงผู้โดยสารด้านหลังได้ดีในระดับหนึ่ง

ทั้ง GLA 200 และ AMG GLA 35 จะมาพร้อมระบบมัลติมีเดีย MBUX (Mercedes-Benz User Experience) ซึ่งประกอบด้วย หน้าจอแสดงผลแบบ 3 มิติ ขนาด 10.25 นิ้ว การสั่งงานด้วยเสียง LINGUATRONIC หรือ และการอัพเดทระบบแบบ OTA (Over-The-Air) มีฟังก์ชันการทำงานหลักๆ ได้แก่ โทรศัพท์ ระบบนำทาง วิทยุ สื่อบันเทิง ไฟเรืองแสงภายในรถ ข้อมูลตัวรถ Mercedes Me และแอปพลิเคชันต่างๆ รวมทั้งการตั้งค่าตัวรถ

ชุดเครื่องเสียงของ GLA 200 เป็นแบบมาตรฐาน ประกอบด้วย วิทยุ FM/AM การเชื่อมต่อโทรศัพท์ผ่าน Bluetooth และ USB รองรับการเชื่อมต่อ Android Auto และ Apple CarPlay แบบเสียบสาย USB และระบบนำทางผ่านดาวเทียม Navigation System 3 มิติ ติดตั้งลำโพงมาให้ 6 ตำแหน่ง ให้คุณภาพเสียงดีขึ้นกว่า A 200 Sedan อยู่นิดหน่อย จัดอยู่ในเกณฑ์ที่พอฟังได้

ขณะที่ชุดเครื่องเสียงของ AMG GLA 35 นั้น จะถูกอัพเกรดขึ้นไปใช้ระบบ Surround Sound ของ Burmester® Surround Sound System พร้อม Sub-Woofer ซึ่งแน่นอนว่ามีคุณภาพเสียงไฟเราะเสนาะหูกว่า และเก็บรายละเอียดของเสียงได้ดีกว่า GLA 200 อยู่หลายขุม ใกล้เคียงกับเครื่องเสียง Harman Kardon ที่ติดตั้งใน Volvo XC40 T5 Recharged

ทั้ง 2 รุ่น มาพร้อมกล้องมองมองภาพด้านหลัง เมื่อเข้าเกียร์ถอย พร้อมเส้นกะระยะหมุนตามพวงมาลัย แต่ยังไม่มีกล้องมองภาพรอบทิศทาง 360 องศา มาให้ กระนั้น ยังมีระบบ ช่วยถอยหลังเข้าจอด PARKTRONIC มาให้ด้วย

ฟังก์ชันที่ผมชอบที่สุดบนหน้าจอ 10.25 นิ้ว นั่นคือการแสดงข้อมูลตัวรถและเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็น องศาการหักเลี้ยว เปอร์เซ็นต์การกดคันเร่ง/เบรก อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง อุณหภูมิน้ำมันเกียร์ กราฟแท่งแรงม้า แรงบิด แรงดันไฟแบตเตอรี่ รวมทั้งความดันในท่อร่วมไอดี (Turbo Boost นั่นแหละ) โชว์แบบ Realtime ครบๆ กันไปเลย มีมาให้ทั้ง GLA 200 และ AMG GLA 35

นอกจากนี้ AMG GLA 35 ยังมีหน้าจอ AMG Performance เพิ่มเข้ามาให้ ความพิเศษของมันก็คือ นอกจากจะมีฟังก์ชันหลักคล้ายๆ กันกับ GLA 200 แล้ว ยังมีหน้า G-Force Meter การถ่ายกำลังไปยังล้อทั้ง 4 การขยับตัวขึ้นลงของช่วงล่าง และหน้าจอระบบวัดแรงดันลมยางทั้ง 4 ล้อ Tyre Pressure/Temoerature Monitoring  มาให้ด้วย

หน้าจอทั้ง 2 ฝั่ง สามารถควบคุมได้จากสวิตช์บนพวงมาลัย และ Touch Pad บริเวณคอนโซลกลาง มีระบบ MBUX พร้อมฟังก์ชันสั่งงานด้วยเสียง LINGUATRONIC มาให้เช่นเคย

อีกลูกเล่นสำคัญ ที่น่าจะทำให้หลายๆคน ตกหลุมรัก GLA นั่นคือ ไฟสร้างบรรยากาศในห้องโดยสาร Ambient Light ที่คุณสามารถเลือกได้มากถึง 64 สี และสามารถเลือกให้ตัวรถ เลือกสีและความสว่างของไฟ Ambient Light ให้กับคุณ ได้เพลิดเพลินกับบรรยากาศการขับรถในยามค่ำคืน ไฟ Ambient Light นี้ จะมีมาให้ตั้งแต่รุ่นล่างสุด GLA 200 Pr0gressive กันเลยทีเดียว

คอนโซลกลางที่เชื่อมต่อจากส่วนล่างของแผงหน้าปัด 90% จะถูกปกคลุมด้วยวัสดุ Piano black เมื่อเลื่อนฝาปิดที่ด้านหน้าสุดไปข้างหน้า จะพบกับช่องเก็บของที่พอจะสามารถวางกุญแจ หรือโทรศัพท์มือถือได้ มี USB Port type C สำหรับเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเข้ากับระบบความบันเทิงของตัวรถได้ และช่องชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้า Power Outlet อย่างละ 1 ตำแหน่ง นอกจากนี้ ยังมีช่องวางแก้วน้ำ 2 ตำแหน่ง แบบมีสลักกันล็อก ป้องกันอเมริกาโนเย็น เพิ่มช็อต หกเลอะเต็มพรม

ถัดมาด้านหลังของช่องเก็บของ เป็นแผงควบคุมหน้าจอกลางแบบ Touch Pad ที่มีการตอบสนองต่อนิ้วค่อนข้างดี ซีกซ้ายของแผงควบคุม เป็นสวิตช์ปรับโหมดการขับขี่ Dynamic Select สวิตช์รูปกล้องและตัว P สำหรับเปิดใช้ระบบช่วยจอด สวิตช์รูปด้านหน้ารถสำหรับการเข้าถึงแบบรวดเร็ว หรือ shortcut ส่วนสวิตช์รูปดาว เป็นรายการโปรด ซึ่งสามารถปรับตั้งค่าได้ ส่วนซีกขวา เป็นสวิตช์หมุนปรับระดับเสียง หรือกด mute เสียง สวิตช์เข้าถึงระบบนำทาง เครื่องเสียง ตลอดจน โทรศัพท์

ถัดมาด้านอีกจะเป็นแท่นขึ้นขึ้นมาประมาณ 1 นิ้วครึ่ง สำหรับวางข้อมือขณะใช้งาน Touchpad ถึงจุดนี้ รุ่น AMG GLA 35 จะเพิ่ม สวิตช์ปรับการทำงานของเกียร์ (D/M) และ สวิตช์ปรับ ESP ทางด้านซ้ายของแป้นวางมือ และสวิตช์ปรับความหนืดของช็อกอัพ ที่ด้านขวา ของตัวแป้นวางมือ มาให้ (ไม่มีใน GLA 200)

พนักวางแขนที่เชื่อมต่อจากคอนโซลกลาง บุนุ่ม หุ้มด้วยหนังสีดำ พร้อมเดินตะเข็บด้ายสีแดง เมื่อกดปุ่มสีดำที่ล้อมกรอบด้วยวัสดุสีเงิน พนักวางแขนจะกางออกออกด้านข้าง เผยให้เห็นช่องเก็บของขนาดกำลังดีที่ด้านในหุ้มด้วยผ้าสักกะหลาดมาให้บางส่วน สามารถใส่กล่อง CD ได้ราวๆ 8 แผ่น และมีช่องชาร์จไฟแบบ USB type C มาให้ 1 ตำแหน่ง ช่องนี้ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลจากมือถือเข้ากับตัวรถได้

ด้านหลังกล่องเก็บของคอนโซลกลาง ไม่มีช่องแอร์มาให้ มีแต่ ช่องเปล่าๆ และปลั๊ก USB มาให้ สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง อีก 1 ตำแหน่ง

Previous Post

หนังดี 449

Next Post

หนังดี 450

Next Post
หนังดี 450

หนังดี 450

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts

  • N1606002_ภาพยนตร์โรแมนติกละครไทยที่ดีที่สุด 2024_part2
  • N1606004_เพราะเมียน้อยของเขา สามีจึงปฏิบัติต่อภรรยาอย่างเลวร้าย_part2
  • N1606005_หญิงสาวรู้สึกประหลาดใจเมื่อสามีของเธอมีชู้_part2
  • N1606006_สามีขี้โกงลับหลังภรรยา บริษัทจะเป็นของใคร?_part2
  • N1606008_เด็กสาวช่วยชีวิตหลานชายของ CEO โดยไม่ได้ตั้งใจ_part2

Recent Comments

  1. A WordPress Commenter on Hello world!

Archives

  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025

Categories

  • Uncategorized

© 2025 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.

No Result
View All Result

© 2025 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.